เดือน: ตุลาคม 2565

การแข่งขัน Jr.NBA e-sports Tournament 2022 รอบชิงชนะเลิศ


30 ต.ค.65 นายพนัส บุญวัฒนสุนทร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สพฐ.กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน พร้อมด้วย ดร.เนตรทราย วงศ์อุปราช นายกสมาคมกีฬาบาสเกตบอลสามคน พร้อมด้วย มร.จิม หว่อง รองประธาน ฝ่ายพันธมิตรระดับนานาชาติ เอ็นบีเอ เอเชีย,
นายณัฐพันธ์ อรุณฤกษ์ Facility Management Manager ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอยุธยา, “มาร์ค” ปาหุณ จิยะเจริญ อดีต Jr NBA All STAR Thailand, นายวรเทพ เทพพงษ์เพชร ผู้เชี่ยวชาญ E Sport ร่วมกันมอบรางวัล

โดย “บูม” นิโคลัส ร.ร.มารีวิทยากบินทร์บุรี คว้าแชมป์ Jr.NBA e-sports Tournament 2022
การแข่งขัน Jr.NBA e-sports Tournament 2022 รอบชิงชนะเลิศ ณ อยุธยาฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอยุธยา เมื่อวันที่ 30 ต.ค.65 จัดโดย JR.NBA ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, บริษัท ชู้ตอิท จำกัด จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยมี 6 ผู้เล่นที่ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายจาก 5 โรงเรียน


สรุปผลการแข่งขัน Jr.NBA e-sports Tournament 2022
ที่ 1 นายนิโคลัส โบลตั้น ม.6 ร.ร.มารีวิทยากบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
ที่ 2 นายธนวิชญ์ ปานเผือก ม.4 ร.ร.ปัญญาวรคุณ จ.กรุงเทพฯ
ที่ 3 ด.ช.ฟาฎิล วานิ ม.3 ร.ร.อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย จ.กรุงเทพ
ที่ 4 นายศุภเสกข์ สอดสุข ม.4 ร.ร.ปัญญาวรคุณ จ.กรุงเทพฯ

รับสมัครคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจขั้นปฏิบัติการและประเมินผลประจำสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง)

รายละเอียด คลิ๊ก

ด้วย สลช. ได้แจ้งเวียนระเบียบคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและวิธีปฏิบัติในการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผลบุคลากรทางการลูกเสือเพื่อให้มีคุณวุฒิวูดแบดจ์ (ฉบับที่ 2) ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565 ข้อ 18 กำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเภทประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ประเภทประจำหน่วยงานในส่วนกลาง ประเภทประจำจังหวัดหรือประจำกรุงเทพมหานครที่ได้รับแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งอยู่แล้วก่อนประกาศนี้ ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นผลให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจขั้นปฏิบัติการและประเมินผลประจำสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามคำสั่งสำนักงานลูกเสือแห่งชาติที่ 366 / 2564 สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 หมดวาระการปฏิบัติหน้าที่ลงในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สกก. ขอเรียนว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. (ส่วนกลาง) เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดความต่อเนื่องในการจัดกิจกรรมลูกเสือ จึงเห็นควรประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทางการลูกเสือที่มีคุณสมบัติตามระเบียบคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและวิธีปฏิบัติในการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผลบุคลากรทางการลูกเสือเพื่อให้มีคุณวุฒิวูดแบดจ์ (ฉบับที่ 2) ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565 เข้ารับสมัครคัดเลือกเพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจขั้นปฏิบัติการและประเมินผลประจำสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ที่ผ่านการฝึกอบรม 4 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทลูกเสือสำรอง                     2. ประเภทลูกเสือสามัญ

3. ประเภทลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่             4. ประเภทลูกเสือวิสามัญ

เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและวิธีปฏิบัติในการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผลบุคลากรทางการลูกเสือเพื่อให้มีคุณวุฒิวูดแบดจ์ (ฉบับที่ 2) ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายนพ.ศ. 2565 ทั้งนี้ สามารถส่งเอกสารหลักฐานในการสมัครภายในวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2565 หากเลยกำหนดถือว่าสละสิทธิ์ในการเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก โดยจะดำเนินการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ ส่งไปยังสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ พิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจขั้นปฏิบัติการและประเมินผลประจำสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่น และระดับดี

หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายในการพัฒนากิจการลูกเสือ
ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีต่องานลูกเสือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักเรียนที่ส่งผลทางด้านคุณลักษณะพึงประสงค์ของเยาวชนไทยในอนาคต อีกทั้งพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดบทบาท หน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ต้องให้การส่งเสริม สนับสนุนกิจการลูกเสือ โดยในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.2551 ส่วนที่ 3 มาตราที่ 29 ให้มีคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ ส่วนที่ 4 มาตราที่ 35 ให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการบริหารงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา และมาตราที่ 36 ให้มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน จึงจัดทำโครงการคัดเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดีเด่นในการจัดกิจกรรมลูกเสือ เพื่อให้ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการลูกเสือ ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เห็นความสำคัญในการจัดกิจกรรมลูกเสือ ตลอดจนเป็นขวัญกำลังใจให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ทุ่มเทเสียสละร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนางานลูกเสือให้เจริญก้าวหน้า
วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ตั้งใจพัฒนางานลูกเสือเป็นที่รู้จัก และได้รับ
    การยกย่อง ชมเชย
  2. เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและให้เกียรติแก่ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พร้อมทั้งข้าราชการในสังกัด ที่ทุ่มเทเสียสละในการพัฒนากิจการลูกเสือ
  3. เพื่อให้ทุกภาคส่วนของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ได้ระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ กำหนดหลักเกณฑ์
    และคัดเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดีเด่นในการจัดกิจกรรมลูกเสือ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่น และระดับดี

ดาวน์โหลดเกียรติบัตร

พิธีปิดการอบรมและมอบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร “มวยไทยในสถานศึกษา พัฒนาเยาวชนไทย”

ทำเนียบรายชื่อเด็กและเยาชนดีเด่นของ สพฐ.

ทำเนียบรายชื่อเด็กและเยาชนดีเด่นของ สพฐ.

ประเมินเชิงประจักษ์โรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน Best of the Best ระดับประเทศ
ระหว่างวันที่ 16 มกราคม – 18 กุมภาพันธ์ 2565

สายที่ 1 (ภาคเหนือตอนบน) ระหว่างวันที่ 16 – 21 มกราคม 2565
สายที่ 2 (ภาคเหนือตอนล่าง) ระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2565
สายที่ 3 (ภาคเหนือ/อีสาน) ระหว่างวันที่ 14 – 18 กุมภาพันธ์ 2565
สายที่ 4 (ภาคอีสาน) ระหว่างวันที่ 16 – 21 มกราคม 2565
สายที่ 5 (ภาคตะวันออก) ระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2565
สายที่ 6 (ภาคใต้) ระหว่างวันที่ 17 – 21 มกราคม 2565
สายที่ 7 (ภาคกลาง) ระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2565

โรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน และ โรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน Best of the Best ระดับประเทศ

โครงการสหกรณ์โรงเรียนเริ่มตั้งแต่ปี 2559 – ปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรอบรู้ เกิดทักษะอาชีพอย่างหลากหลายจากการลงมือปฏิบัติจริง ผ่านกระบวนการสหกรณ์ (ร้านค้า, ออมทรัพย์, การผลิต, สวัสดิการ) ช่วยสร้างอาชีพและรายได้ ฝึกให้ผู้เรียนได้วางแผนการทำงานร่วมกัน ตลอดจนได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและสร้างช่องทางการจำหน่ายให้บรรลุเป้าหมาย

โรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน Best of the Best ระดับประเทศ

พิธีม่อบโล่โรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน Best of the Best ระดับประเทศ

วันที่ 14 กันยายน 2565
เลขาธิการ กพฐ. (นายอัมพร พินะสา) มอบโล่รางวัล #โรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน Best of the Best ระดับประเทศ ประจำปี 2565 จำนวน 14 โรงเรียน ในการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่

รายชื่อโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ ของ สพฐ.

หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายในการพัฒนากิจการลูกเสือ
ให้เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง เน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีต่องานลูกเสือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักเรียนที่ส่งผลทางด้านคุณลักษณะพึงประสงค์ของเยาวชนไทยในอนาคต ซึ่งสถานศึกษาในสังกัด เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายในการพัฒนากิจการลูกเสือในโรงเรียน โดยผู้บริหาร ครู – อาจารย์ นักเรียน และชุมชน จะเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลักดันกิจการลูกเสือให้เจริญก้าวหน้า สมดังเจตนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย  
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน
จึงจัดทำโครงการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนลูกเสือในทุกระดับ ทุกโรงเรียน กิจกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของลูกเสือ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ และเป็นศูนย์ศึกษาดูงานของโรงเรียนต่าง ๆ ในด้านการจัดกิจกรรมลูกเสือ ในพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ โดยใช้กระบวนการลูกเสือ เสริมสร้างทักษะชีวิตของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ยึดมั่นประชาธิปไตย มีคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทยสร้างสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าสืบไป

วัตถุประสงค์ 

1.เพื่อให้ทุกภาคส่วนของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ได้สนับสนุนกิจการลูกเสือรวมทั้งส่งเสริมการบริหารจัดการ และการจัดกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน

2.เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและให้เกียรติแก่โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบลูกเสือของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.เพื่อประกาศยกย่องชมเชยให้โรงเรียนที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนลูกเสือ กิจกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของลูกเสือ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ ศึกษาดูงานของโรงเรียนต่าง ๆ ในด้านการ จัดกิจกรรมลูกเสือ ในพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ โดยใช้กระบวนการลูกเสือ

รายชื่อโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ ของ สพฐ.