แนวทางการแต่งกายชุดเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ประจำปีการศึกษา 2567

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอเรียนว่า ปัจจุบันสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงชุดเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ซึ่งอาจประกาศได้ทันในปีการศึกษา 2568 ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนกับผู้ปกครองนักเรียน ในเรื่องการแต่งกายชุดเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ประจำปีการศึกษา 2567 และถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีกฎกระทรวงรองรับ จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งไปยังสถานศึกษาในสังกัดเพื่อทราบแนวทางการแต่งกายชุดเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี
ยุวกาชาด ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑. การแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามกฎกระทรวง ว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ ฉบับที่ ๑
พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกอบด้วย หมวก เสื้อ กางเกง/กระโปรง ผ้าผูกคอ เข็มขัด ถุงเท้า รองเท้า และเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบ ให้ใช้สำหรับงานพิธีเข้าประจำกองลูกเสือ งานพิธีของลูกเสือ หรืองานพิธีอื่น ๆ
ที่สถานศึกษาจังหวัด สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดขึ้น และในการฝึกอบรมหรืออยู่ค่ายพักแรม
๒. การแต่งเครื่องแบบลูกเสือสำรองและลูกเสือสามัญแบบลำลอง ตามกฎกระทรวง
ว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งประกอบด้วย เครื่องแบบนักเรียน ผ้าผูกคอ เครื่องหมายลูกเสือ ให้ใช้สำหรับการฝึกอบรม การอยู่ค่ายพักแรม เท่านั้น
๓. การแต่งเครื่องแบบลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และลูกเสือวิสามัญแบบลำลอง อนุโลมให้
แต่งเครื่องแบบตามกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๒๙
๔. การแต่งเครื่องแบบของสมาชิกยุวกาชาด ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด
ว่าด้วยเครื่องแบบยุวกาชาด ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๑ ใช้สำหรับการฝึกอบรม การอยู่ค่ายพักแรม งานพิธีของยุวกาชาด หากหมู่ยุวกาชาดโรงเรียนใดที่สมาชิกยุวกาชาดหญิงหรือชาย ไม่สามารถจัดหาเครื่องแบบได้
ให้ใช้เครื่องแบบนักเรียนประดับเครื่องหมายสมาชิกยุวกาชาดที่อกเสื้อด้านขวา สวมผ้าผูกคอและหมวก
ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาพิจารณาปรับรูปแบบกำหนดการแต่งเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี
และยุวกาชาด ตามข้อ ๑ – ๔ ได้ตามความเหมาะสม

#วิชานอกห้องเรียน ที่เด็กควรเรียน

#การเรียนรู้ตามหลักสูตรกลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตจริงทั้งหมดหรือไม่ ในขณะที่โลกปัจจุบันผู้คนต่างใช้ชีวิตเพื่อเอาตัวรอดจากทักษะความสามารถรอบตัว วิชานอกห้องเรียนคือการเรียนรู้ที่เสริมการใช้ชีวิตได้จริง ซึ่งผู้เรียนเองก็ได้ประโยชน์เพื่อนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต บางครั้งวิชาในห้องเรียนไม่ได้ตอบโจทย์ผู้เรียนทุกคนเสมอไป และอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เด็กยุคใหม่ใช้ชีวิตได้กับโลก ณ ปัจจุบัน ตัวอย่างวิชานอกห้องเรียนที่ปลูกฝังทักษะการเรียนรู้ใหม่ ๆ ให้กับเด็กไทย เพื่อให้นำไปปรับใช้และดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม

✅วิชาการมีวิจารณญาณในการเสพสื่อ

สื่อโซเชียลในโลกใบนี้ช่างน่ากลัวอย่างที่ทุกคนรับรู้ ครูหรือผู้ปกครองจะคอยห้าม ควบคุมหรือติดตามตลอดเวลาคงเป็นไปได้ยาก ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลเพียงแค่เซิร์ชและคลิก เพียงไม่กี่วินาทีข้อมูลทุกอย่างก็อยู่ในมือแล้ว โดยวิชานี้ในสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดให้วิชานี้บรรจุเป็นทักษะพื้นฐานที่ผู้เรียนควรศึกษา เพื่อสอนให้รู้เท่าทันสื่ออย่างมีสติ แยกแยะข้อมูลเท็จกับข้อมูลจริงคิดวิเคราะห์ได้อย่างรอบคอบ สอนให้มีความรู้ในเรื่องสื่อและเข้าใจถึงความสำคัญของสื่อ เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนให้เลือกใช้สื่ออย่างถูกต้อง อิสราเอลก็จัดให้มีการเรียนการสอนวิชานี้ด้วยพร้อมสอนให้เด็ก ๆ เรียนรู้วิธีปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล วิธีคัดกรองและการรักษาความปลอดภัยของตัวเอง

✅วิชาดึงสติ

สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดมักเกิดปัญหา ตัวอย่างมีให้เห็นได้มากมายจากสังคมในปัจจุบัน จากบุคคลรอบตัว ข่าวสังคมบ้านเมือง เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากความเครียดมักเกิดจากการจัดการอารมณ์ตนเองไม่ได้ ซึ่งในอังกฤษได้จัดวางวิชานี้เริ่มต้นให้เด็กอายุ 8 ปี ขึ้นไปได้เรียนรู้และสนับสนุนการเรียนจัดการความคิด ควบคุมอารมณ์ รู้จักการปกป้องตนเองรวมถึงวิธีการผ่อนคลายความเครียด การมีสติที่ดีสามารถพัฒนาทักษะการควบคุมจากแรงกระตุ้น และจัดการความคิดที่เป็นกังวลได้ดีขึ้นเพื่อสุขภาพจิตที่ดีของเด็กยุคใหม่

✅วิชารับมือกับความผิดหวัง

เมื่อคาดหวังก็ย่อมมีผิดหวัง เพราะทุกความสำเร็จมีความคาดหวังอยู่เสมอ สิ่งที่ควรสอนเด็กได้เรียนรู้จากทักษะนี้ คือ ถ้าล้มแล้วจะลุกสู้ต่อควรทำอย่างไร หรือเมื่อแพ้จากการแข่งขันจะรับมือและยอมรับผลได้อย่างไร เด็กควรเรียนรู้การรับมือกับความผิดหวัง เพราะในชีวิตต้องได้เจอกับปัญหานี้ไม่ช้าก็เร็ว มันคือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ยิ่งเจอกับความผิดหวังมากเท่าไร ยิ่งแข็งแกร่งและเข้าใกล้เส้นชัยมากขึ้นเท่านั้น ถ้าเราสร้างความเข้าใจให้กับเด็กพร้อมปรับทัศนคติที่ดีว่าสิ่งเหล่านี้คือภูมิต้านทานในชีวิตให้พวกเขาได้มุ่งมั่น ตั้งใจ แก้ไขปรับปรุง พัฒนา เพื่อความสำเร็จในวันข้างหน้า

✅วิชาทักษะการเอาชีวิตรอด

โลกที่อยู่ยากกับการดูแลตัวเองและเพื่อนร่วมโลกให้อยู่รอด ทักษะการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญเมื่อเด็กเผชิญกับวิกฤตที่อยู่ตรงหน้า ควรเรียนรู้ทักษะนี้ในเบื้องต้น เช่น การปฐมพยาบาล ในโรงเรียนอาจมีการเสริมการเรียนรู้ทักษะนี้ไปบ้างแล้ว แต่อาจจะไม่ลงลึกทุกสถานการณ์ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในการเอาตัวรอดให้เด็กได้เตรียมความพร้อม และควบคุมในการจัดการกับสถานการณ์อันตรายได้ สิ่งที่เด็กได้นอกจากจะช่วยเหลือดูแลตัวเองได้แล้วสามารถช่วยเหลือบุคคลอื่น ๆ ได้ด้วย

✅วิชาโยคะ

เราอาจมองว่าโยคะเป็นอีกหนึ่งคลาสของการออกกำลังกายของผู้ใหญ่ แต่รู้หรือไม่ วิชาโยคะ สามารถช่วยให้เด็กฝึกความอดทนและเรียนรู้การจัดการกับความขัดแย้ง รู้วิธีที่จะสื่อสารด้านอารมณ์ทำจิตใจให้สงบ และยังลดความรุนแรงได้ดีอีกด้วย ซึ่งในต่างประเทศ มี 3 ประเทศ ที่ได้มีการจัดชั้นเรียนวิชาโยคะ ได้แก่ อังกฤษ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา โดยจัดชั้นเรียนให้เด็กเข้าร่วม 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 40 นาที ทั้งนี้พวกเขาเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการเรียนการสอนทักษะในด้านนี้เป็นอย่างมาก

ตัวอย่างทั้ง 5 วิชานอกห้องเรียนที่เด็กควรเรียน สามารถนำไปสอดแทรกไว้ในวิชาที่สอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ โดยบูรณาการความรู้เข้าด้วยกันและคงจะดีไม่น้อยถ้าวิชานอกห้องเรียนจะเป็นหลักสูตรใหม่ที่เพิ่มเข้าไปในระบบการศึกษาได้จริง นอกจากจะสอนตามหลักสูตรวิชาที่มีในห้องเรียนตามเป้าหมายที่เด็กควรรู้แล้ว ควรส่งเสริมทักษะรอบตัวการใช้ชีวิตเข้าไปด้วย เพื่อให้เด็กเรียนรู้ชีวิตจากการทดลองฝึกฝนตั้งแต่ยังเด็ก ตอบโจทย์การพัฒนาเด็กในยุคใหม่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

แหล่งที่มา : https://www.aksorn.com/ac1-learning-outside-classroom

โครงการค่ายเยาวชนสร้างชาติ รุ่นที่ 15 (NB-Youth Camp #15)

ประชาสัมพันธ์

โครงการค่ายเยาวชนสร้างชาติ รุ่นที่ 15 (NB-Youth Camp #15) โดยมีเด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการรวม 3 จังหวัด (จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,050 คน (เด็กหรือเยาวชน 3 คน ต่อ 1 โรงเรียน) ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งออกเป็น 3 จังหวัด ดังนี้

จุดที่ 1 วันศุกร์ที่ 14 ถึงวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราช

ณ อาคารหอประชุมสโมสรรื่นฤดี ค่ายวชิราวุธ

จุดที่ 2 วันศุกร์ที่ 21 ถึงวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2567 จังหวัดขอนแก่น

ณ อาคารหอประชุมเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

จุดที่ 3 วันศุกร์ที่ 12 ถึงวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2567 จังหวัดเชียงใหม่

ณ อาคารหอประชุมวัดพระธาตุดอยสะเก็ด

ดาวโหลดใบสมัครได้ที่

การสรรหาและพิจารณาคัดเลือก #เด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ และ #ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน ประจำปี ๒๕๖๗

ประกาศ ประกาศ #รางวัลพระราชทาน
กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์
ดำเนินการสรรหาและพิจารณาคัดเลือก #เด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ และ #ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็ก
และเยาวชน ประจำปี ๒๕๖๗ จำนวน ๕ ด้าน โดยแบ่งเป็น ๔ ประเภท ได้แก่
๑) ประเภทเด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ
๒) ประเภทกลุ่มเด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ
๓) ประเภทบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน
๔) ประเภทองค์กรที่ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน

เพื่อเข้ารับ #พระราชทานโล่เกียรติยศ และ #เกียรติบัตร เนื่องในโอกาสวันเยาวชนแห่งชาติ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๗
จึงขอประชาสัมพันธ์โครงการรายละเอียด ดังแนบ

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด โหลดใบสมัคร

โครงการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ สู่ศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิ๊ก

เกียรติบัตรการประกวดเรียงความเฉลิมพระเกียรติ “ร้อยถ้อยคำ ร้อยความทรงจำ จากดวงใจ” เจ็ดทศวรรษ ธ ครองธรรม ธ ครองไทย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ระดับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับเกียรติบัตร และดาวน์โหลดไฟล์เกียรติบัตร ได้ที่ QR CODE รายละเอียดดังแนบ

ประชาสัมพันธ์ประกาศหลักเกณฑ์การประกวดกิจกรรม งานคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย และงานชุมนุมยุวกาชาด ประจำปี 2567

ประกาศผลการประกวดเรียงความเฉลิมพระเกียรติ “ร้อยถ้อยคำ ร้อยความทรงจำ จากดวงใจ” เจ็ดทศวรรษ ธ ครองธรรม ธ ครองไทย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

ประกาศผลการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ (Speech Contest) เรื่อง “รักษาชาติและความเป็นไทย ไว้ด้วยลมหายใจของประวัติศาสตร์”